Chemical Flotation VS Chemical Sedimentation

บ่อยครั้งที่มักเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องระบบบำบัดน้ำเสียระหว่างระบบการตกตะกอนและระบบการลอยตะกอน อาจจะเป็นเพราะว่าทั้งสองระบบใช้การเติมสารเคมีประเภท Coagulant และ Flocculant เหมือนกัน แต่ว่ามีความแตกต่างกันในเรื่องคุณลักษณะและปริมาณของสาร Coagulant และ Flocculant ที่ใช้ จึงส่งผลต่อการลอยหรือการจมของตะกอนน้ำเสีย

การเปรียบเทียบ Flotation กับ Sedimentation

ความแตกต่างระหว่างระบบการตกตะกอนและระบบการลอยตะกอน มีรายละเอียดต่างกันโดยสรุปดังนี้
1. คุณสมบัติของสารเคมี Coagulant และ Flocculant ที่ใช้ ระบบการตกตะกอน ส่วนมากจะใช้เป็นประเภท High Charge และ High Molecular Weight เพื่อรวมตะกอนให้จมลง ส่วนระบบการลอยตะกอน ส่วนมากจะให้เป็นประเภท Low Charge และ Low Molecular Weight เพื่อรวมตะกอนให้ลอยขึ้นผิวน้ำ
2. ปริมาณสารเคมีที่ใช้ ระบบการตกตะกอนจะใช้สารเคมีมากกว่าระบบการลอยตะกอน 3-20 เท่า เพื่อให้ตะกอนรวมกันมีน้ำหนักมากพอที่จะจมลงด้านล่าง
3. ตัวอย่างการใช้งานระบบการตกตะกอนและระบบการลอยตะกอน ที่พบเห็นได้บ่อย สำหรับระบบการตกตะกอน ได้แก่ Sludge Dewatering, น้ำเสียจากโรงงานผลิตสี, น้ำเสียจากโรงงานฟอกย้อมผ้า และสำหรับระบบการลอยตะกอน ได้แก่ น้ำเสียจากโรงงานอาหาร น้ำเสียจากโรงงานผลิตภัณฑ์ยางพารา น้ำเสียจากโรงงานอีเล็กทรอนิค นอกจากนี้ระบบการลอยตะกอนจะมีใบกวาดตะกอนอยู่ด้านบนสำหรับกวาดตะกอนลอยออกจากระบบ ส่วนระบบการตกตะกอนจะมีใบกวาดอยู่ด้านล่าง
 ระบบการลอยตะกอนที่นิยมได้แก่ Dissolved Air Flotation หรือ DAF ที่ต้องได้การคำนวนและทดสอบอย่างเหมาะสม สนใจขอข้อมูลและใบเสนอราคาระบบ DAF กรุณาติดต่อแจ้งความประสงค์ โทร 097-051-7068 และอีเมล์ techmart@wanzer.co.th